การไว้ผมจุก ผมแกละ ผมโก๊ะ ผมเปีย
เมื่อสมัยโบราณจะนิยมให้บุตรหลานไว้ทรงผมเหล่านี้ และเมื่อเด็กชาย เด็กหญิง มีอายุครบหรืออายุถึงเวลาที่จะต้องโกนจุก และผมเหล่านั้นแล้วก็จะต้องทำพิธีในการโกนจุกขึ้นมา ในปัจจุบันการไว้ผมจุกนั้นอาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันมากนัก และจะมีผู้ใหญ่บางคนยังเชื่อเรื่องนี้ว่า การที่ลูกหลานของตัวเองป่วยบ่อย ดื้อ หรือเลี้ยงยาก ก็จะปั้นตุ๊กตามาให้เลือก โดยจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปเด็กไว้ผมเปีย ผมแกละ ผมจุก ผมโก๊ะ แล้วให้เด็กเลือกหยิบเอา เมื่อเด็กได้เลือกตุ๊กตาตัวไหนมาก็จะทำการไว้ผมทรงนั้น และยังเชื่ออีกว่าถ้าได้ทำการไว้ผมทรงนั้นๆแล้วลูกหลานของตัวเองนั้น จะเลี้ยงง่าย สุขภาพแข็งแรง ไม่ดื้อ ไม่ซน จนถึงอายุ 9-11 ปี จึงจะมีการทำพิธีโกนผมเกิดขึ้น
ขั้นตอนการทำพิธีโกนผม
ก่อนอื่นเลยพวกญาติผู้ใหญ่จะต้องไปดูฤกษ์กับพระที่วัด และเมื่อกำหนดวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องไปจัดการซื้อข้าวของ เตรียมงานให้พร้อม และจะนิยมจัดงานประเพณีนี้ สองวันด้วยกัน
พิธีกรรมวันแรก เจ้าภาพจะต้องจัดบ้านตัวเองให้สวยงาม ประดับประดาสิ่งของต่างๆ และในช่วงตอนเย็นของวันสุกดิบพ่อ แม่ จะต้องนำเด็กไปไว้บ้านญาติแล้วจะต้องแต่งตัวเด็กให้มีความสวยงาม ด้วยการแต่งหน้าทาปาก จากนั้นก็ต้องทำการแห่จากบ้านญาติมาบ้านต้น ด้วยขบวนกลองยาว หรือแล้วแต่กำลังเจ้าภาพที่จะจัดในการแห่ เมื่อมาถึงบ้านก็จะ มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น และจะมีการทำมงคลสวมหัวเด็ก และเมื่อเสร็จพิธีทางพระสงฆ์แล้ว ในตอนค่ำก็จะมีการทำขวัญ เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็จะนำเด็กไปเปลี่ยนชุด และมีการฉลองต่อไป
พิธีกรรมวันที่สอง เมื่อถึงตอนเช้านำเด็กมาอาบน้ำ และต้องสวมเสื้อผ้าด้วยชุดใหม่ๆและได้นิมนต์พระมาทำพิธี ทำบุญตักบาตรเมื่อเสร็จแล้ว ทางพระก็จะได้ทำการโกนผมก่อน แล้วจึงให้ พ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่ทำการโกนต่อไป และบางบ้านจะมีการผูกข้อมืออวยพรให้แก่เด็ก บางคนก็ให้แก้ว แหวน เงินทอง ในช่วงบ่ายจะนำผมที่โกนออกมานั้นทำพิธีเวียนเทียน เมื่อเวียนเทียนเสร็จแล้วก็จะนำผมจุกห่อด้วยใบบัวหรือกระทง และนำดอกไม้ ธูป เทียนใส่ไปด้วย และทำการห่อแล้วนำไปลอยน้ำ เป็นอันจบพิธี
ประเพณีโกนจุกนี้ได้มีการสืบทอดมาถึงปัจจุบันยังมีให้รุ่นลูก รุ่นหลาน ได้เห็นกันอยู่บาง แต่ในปัจจุบันจะให้มีประเพณีโกนจุกนี้ ให้เห็นน้อยลง และอยากให้ช่วยกันรักษาประเพณีนี้ไว้ก่อนจะหายไปจาก