เมื่อลูกน้อยของคุณติดเกมส์

ในโลกสังคมปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้หรอกว่าเป็นโลกสังคมที่น่ากลัว เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือแม้กระทั่งเกมส์ต่างๆล้วนแต่มีอิทธิพลส่งผลกระทบต่อลูกๆหลานๆของเราทั้งนั้น โดยเฉพาะเกมส์ที่กำลังได้รับความนิยมกันอยู่ตอนนี้บางเกมส์เป็นเกมส์ที่ใช้ความรุนแรง

สอนให้เด็กๆใช้อาวุธเช่น ปืน มีด ระเบิด เป็นต้น ซึ่งถ้าคุณยังปล่อยให้ลูกๆของคุณเล่นเกมส์พวกนี้อยู่ละก้อ สักวันคุณอาจมานั่งเสียใจในพฤติกรรมแย่ๆของลูกคุณแน่  ทางที่ดีเราลองมาสังเกตดูซิว่าลูกคุณมีอาการแบบที่กล่าวนี้ไหม

อาการหัวร้อน จริงๆมันคืออาการเครียดนั้นแหละ แต่พูดให้ดูทันสมัยในภาษาเกมส์เค้าเรียกกันว่า อาการหัวร้อน ซึ่งเกิดมาจากภาวะการเครียดสะสม จากการที่ลูกคุณเล่นเกมส์แพ้หรือเล่นเกมส์แล้วไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้  สังเกตุง่ายๆลูกคุณจะเป็นเด็กขี้หงุดหงิด โมโหง่าย ตะโกนโหวกเหวกโวยวายอยู่คนเดียวหน้าจอคอม  

อาจร้ายแรงถึงขั้นทุบตีทำลายข้าวของเสียหาย ความน่ากลัวนี้อาจพัฒนาจนถึงขั้นรุนแรงสุดเมื่อลูกคุณเลียนแบบพฤติกรรมด้านเลวร้ายในเกมส์ไปก่ออาชญากรรมนอกบ้าน ซึ่งถ้ามันรุนแรงขนาดนั้นคุณอาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย นอกจากปล่อยให้ลูกถูกจับดำเนินคดี

เก็บตัวไม่มีสังคม  สังเกตได้จากการที่ลูกของคุณเก็บตัวเล่นเกมส์อยู่แต่ในห้องไม่ออกไปเที่ยวไหน ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคมนอกบ้าน วันๆเก็บตัวไม่ทำอะไรหมกหมุ่นเล่นแต่เกมส์ และไม่ยอมทำกิจกรรมใดๆเลยแม้กระทั่งกับคนในบ้าน ถ้าคุณยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆลูกคุณอาจเป็นเด็กมีปัญหาเพราะเข้ากับใครก็ไม่ได้ ทางที่ดีควรดึงลูกของคุณออกมาจากโลกของเกมส์ สร้างกิจกรรมที่ต้องช่วยกันทำทั้งครอบครัวเพื่อลูกของคุณจะได้รู้สึกอบอุ่นและรู้จักทำอะไรร่วมกับผู้อื่นด้วย

ไม่มีสมาธิสนใจแต่เกมส์  เด็กพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีผลการเรียนตกต่ำ เพราะสมองไม่มีสมาธิที่จะมาสนใจในสิ่งที่ครูสอน บางคนแอบเล่นเกมส์มือถือในเวลาเรียนก็มีเยอะ ขนาดเวลาเรียนยังไม่สนใจไม่ต้องพูดถึงเรื่องการบ้านคิดว่าไม่น่าทำการบ้านส่งครูได้ สมองเด็กพวกนี้จะจดจ่อแต่เรื่องวิธีการเล่นเกมส์และหาวิธีเอาชนะคู่ต่อสู้ในเกมส์ เมื่อเรียนไม่รู้เรื่องแล้วไม่แปลกใจเลยว่าทำไมทำข้อสอบไม่ได้และเกรดที่ได้ถึงต่ำ

ถ้าคุณพบว่าลูกคุณมีลักษณะอาการต่างๆที่กล่าวมานี้ แนะนำให้คุณหาวิธีป้องกันให้ลูกคุณหยุดหรือเลิกเล่นเกมส์เหล่านั้นซะ แล้วหากิจกรรมดีๆที่ลูกคุณสนใจ เช่นพาไปวิ่งออกกำลังกาย  เล่นกีฬาฟุตบอล เล่นดนตรีที่ชื่นชอบ เพื่อปรับพฤติกรรมให้ลูกของคุณเป็นกลับมาเป็นเด็กดีและตั้งใจเรียนต่อไป

 

สนับสนุนโดย   คาสิโนออนไลน์ได้เงินจริง