ประเพณีโกนจุก

การไว้ผมจุก ผมแกละ ผมโก๊ะ ผมเปีย

เมื่อสมัยโบราณจะนิยมให้บุตรหลานไว้ทรงผมเหล่านี้ และเมื่อเด็กชาย เด็กหญิง มีอายุครบหรืออายุถึงเวลาที่จะต้องโกนจุก และผมเหล่านั้นแล้วก็จะต้องทำพิธีในการโกนจุกขึ้นมา ในปัจจุบันการไว้ผมจุกนั้นอาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันมากนัก และจะมีผู้ใหญ่บางคนยังเชื่อเรื่องนี้ว่า การที่ลูกหลานของตัวเองป่วยบ่อย ดื้อ หรือเลี้ยงยาก ก็จะปั้นตุ๊กตามาให้เลือก โดยจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปเด็กไว้ผมเปีย ผมแกละ ผมจุก ผมโก๊ะ แล้วให้เด็กเลือกหยิบเอา เมื่อเด็กได้เลือกตุ๊กตาตัวไหนมาก็จะทำการไว้ผมทรงนั้น และยังเชื่ออีกว่าถ้าได้ทำการไว้ผมทรงนั้นๆแล้วลูกหลานของตัวเองนั้น จะเลี้ยงง่าย สุขภาพแข็งแรง ไม่ดื้อ ไม่ซน จนถึงอายุ 9-11 ปี จึงจะมีการทำพิธีโกนผมเกิดขึ้น

ขั้นตอนการทำพิธีโกนผม

ก่อนอื่นเลยพวกญาติผู้ใหญ่จะต้องไปดูฤกษ์กับพระที่วัด และเมื่อกำหนดวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องไปจัดการซื้อข้าวของ เตรียมงานให้พร้อม และจะนิยมจัดงานประเพณีนี้ สองวันด้วยกัน

พิธีกรรมวันแรก เจ้าภาพจะต้องจัดบ้านตัวเองให้สวยงาม ประดับประดาสิ่งของต่างๆ และในช่วงตอนเย็นของวันสุกดิบพ่อ แม่ จะต้องนำเด็กไปไว้บ้านญาติแล้วจะต้องแต่งตัวเด็กให้มีความสวยงาม ด้วยการแต่งหน้าทาปาก จากนั้นก็ต้องทำการแห่จากบ้านญาติมาบ้านต้น ด้วยขบวนกลองยาว หรือแล้วแต่กำลังเจ้าภาพที่จะจัดในการแห่ เมื่อมาถึงบ้านก็จะ มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น และจะมีการทำมงคลสวมหัวเด็ก และเมื่อเสร็จพิธีทางพระสงฆ์แล้ว ในตอนค่ำก็จะมีการทำขวัญ เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็จะนำเด็กไปเปลี่ยนชุด และมีการฉลองต่อไป

พิธีกรรมวันที่สอง เมื่อถึงตอนเช้านำเด็กมาอาบน้ำ และต้องสวมเสื้อผ้าด้วยชุดใหม่ๆและได้นิมนต์พระมาทำพิธี ทำบุญตักบาตรเมื่อเสร็จแล้ว ทางพระก็จะได้ทำการโกนผมก่อน แล้วจึงให้ พ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่ทำการโกนต่อไป และบางบ้านจะมีการผูกข้อมืออวยพรให้แก่เด็ก บางคนก็ให้แก้ว แหวน เงินทอง ในช่วงบ่ายจะนำผมที่โกนออกมานั้นทำพิธีเวียนเทียน เมื่อเวียนเทียนเสร็จแล้วก็จะนำผมจุกห่อด้วยใบบัวหรือกระทง และนำดอกไม้ ธูป เทียนใส่ไปด้วย และทำการห่อแล้วนำไปลอยน้ำ เป็นอันจบพิธี

ประเพณีโกนจุกนี้ได้มีการสืบทอดมาถึงปัจจุบันยังมีให้รุ่นลูก รุ่นหลาน ได้เห็นกันอยู่บาง แต่ในปัจจุบันจะให้มีประเพณีโกนจุกนี้ ให้เห็นน้อยลง และอยากให้ช่วยกันรักษาประเพณีนี้ไว้ก่อนจะหายไปจาก

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ

เมื่อเข้าสู่ช่วงจะเข้าฤดูฝน หรือช่วงเดือนหก จะมีงานประเพณีอันยิ่งใหญ่นั่นคือบุญบั้งไฟ จากนิทานหรือตำนานในเรื่องผาแดงนางไอ่  ซึ่งเชื่อว่าเป็นการบูชาพญาแถนโดยการถวายบั้งไฟ ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล หากหมู่บ้านใดไม่ทำการบวงสรวงจะเกิดอาเภท ฝนฟ้าไม่ตก น้ำแห้งคอด ข้าวยากหมากแพง ทำการเกษตรก็ไม่ได้ จากอิทธิพลความเชื่อในเรื่องโลกสวรรค์ มนุษย์ การไหว้เทวดา โดยจะดลบันดาลให้ชีวิตมีความสุข ไม่ต้องเจอกับภัยอันตราย คำว่าบั้งมาจากสิ่งที่เป็นกระบอก เช่น กระบอกไม่ไผ่ กระบอกใส่น้ำ แล้วทำมาให้มีไฟ สามารถนำขึ้นฟ้าได้ จึงมีการประดิษฐ์ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการใช้กระบอกไม้ไผ่ ใส่ดินประสิว มาบรรจุด้วยดินปืน ตามอัตราส่วนที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้มีความเร็วและสามารถพุ่งขึ้นฟ้า 

จากการอาศัยการทำปฏิกิริยาระหว่างความร้อน ส่วนประกอบของบั้งไฟ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนหาง และส่วนที่เป็นลูก เมื่อนำทั้ง 3 ส่วนมารวมกัน จะได้ลักษณะเป็นบั้งยาว เรียว ตามจุดประสงค์ที่ต้องการนำมาใช้  โดยเราสามารถเห็นได้ในปัจจุบัน นั่นคือ บั้งไฟพลุ บั้งไฟแสน และบั้งไฟตะไล หากกล่าวถึงความอลังการยิ่งใหญ่ต้องเป็นบั้งไฟแสน

ที่ผู้เชี่ยวชาญในการทำแต่ละคนจะนำมาประชัน และแข่งขันกัน บางที่มีการลงขันพนันถึงความทรงพลังของบั้งไฟตัวเอง โดยหากจุดไปแล้วทำวงสวยและสามารถขึ้นไปบนฟ้าได้สูงๆและเป็นระยะเวลานานๆถือว่าบั้งไฟอันนี้มีแสนยานุภาพมาก ก็จะได้รับการยกย่องและยอมรับจากทีมงาน ถือเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีที่จังหวัดยโสธร มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติหลั่งไหลกันมาอย่างคับคั่ง  เป็นที่นิยมของผู้ที่มาร่วมงาน โดยจะมีการจองที่พักการข้ามปีเลยทีเดียว ภายในงานจะมีการจัดขบวนแห่ที่สวยงาม วัฒนธรรมการแต่งกายที่สวยงามของคนในพื้นที่ การประกวดบั้งไฟ

มีแสงสีเสียงที่เล่าขานเกี่ยวกับเรื่องพญาคันคาก (ที่มีความเชื่อว่าเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ลงมาเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นที่สักการะบูชาของคนในอดีต จนลืมถวายการเคารพพระยาแถน ทำให้ท่านโกรธ สั่งให้ฝนฟ้าไม่ตก ชาวบ้านทำการเกษตรไม่ได้) และการแสดงสินค้าพื้นเมืองของแต่ละชุมชน นอกจากนี้ยังเห็นการจุดบั้งไฟที่สวยงาม หากใครจุดไม่ขึ้น จะภูกนำตัวมาลงโคลนตม ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งประเพณีบั้งไฟนี้มีมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษสืบทอดต่อมาจากถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ยังได้รับการอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้คงไว้ แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น มีการทำบั้งไฟเพื่อจำหน่ายมากขึ้น